ยาเสพติดที่ต่างประเทศใช้แบบถูกกฎหมาย

club-drug-ms-3-01

เรามาทำความรู้จักกับคำว่า Club Drugs ก่อน ซึ่งที่สถาบัน NIDA สหรัฐอเมริกาได้ให้ความหมายว่า “ยาและสารเสพติดที่ใช้ในสถานบันเทิงที่มีการเต้นรำ” แต่สำหรับประเทศไทย ยาประเภท Club Drugs เป็นยาเสพติดที่ผิดกฎหมายนะคะ เรามาทบทวนชื่อยาเสพติดและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกันหน่อยดีกว่า

ยาอี หรือ เอ็กซ์ตาซี หรือ MDMA (Methylenedioxymethamphetamine)

จำหน่าย ยาอีจัดเป็นยากระตุ้นประสาทที่ทำให้ผู้เสพมีอาการหลอนประสาทร่วมด้วย เสพโดยการกินการเสพยาอีในปริมาณมากและเสพอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดภาวะติดยา บางรายมีอาการเบลอ เนื่องจากยามีผลต่อร่างกายและสมอง

ต่างประเทศใช้เป็น Club Drug เพราะว่าให้ผู้ใช้ยารู้สึกพึงพอใจในตัวเอง มีอารมณ์ร่วม ช่วยในการสื่อสาร และเพิ่มความสามารถในการเข้าสังคมกับผู้อื่น และส่วนใหญ่เสพสัปดาห์ละ 1 ครั้ง (เขาเสพไม่ติดกันเนอะ เลยไม่เรียกยาเสพติด)

ในส่วนของทางการแพทย์: ไม่มีในการนำมาใช้ในทางการแพทย์

ยาเค หรือ เคตามีน 

ยาเคจะออกฤทธิ์ทำให้รู้สึกเมายามากขึ้น ผู้เสพจะมีอาการผิดปกติคือหัวใจเต้นเร็ว ดวามดันโลหิตสูง สูญเสียความทรงจำ ควบคุมตัวเองไม่ได้ ประสาทหลอน เนื่องจากบ้านเราใช้ยาเคมากเกินไป ทำให้เกิดอาการติดยาและต้องมีการควบคุมอย่างเข้มงวดขึ้น

ในส่วนของทางการแพทย์: เป็นยาที่ผลิตโดยถูกกฎหมายเพื่อใช้ในทางการแพทย์มาเป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว

โคเคน   

โคเคน ในต่างประเทศไม่จัดว่าโคเคนเป็น club drug แต่ประเทศไทยนิยมเสพโคเคนในแนว Club Drug การเสพโคเคนโดยวิธีสูดทางจมูกจะทำให้มีเลือดกำเดาออก และหากใช้ต่อไปจะทำให้ผนังจมูกทะลุ ผู้ที่เสพมากเกินไปอาจชัก เกร็ง เลือดออกในสมอง และหัวใจวายได้

ในส่วนของทางการแพทย์: ในทางการแพทย์เป็นยาชาเฉพาะที่ (local anesthetic)

ไอซ์ หรือ เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า)      

ยาไอซ์จะต้องใช้อุปกรณ์ในการเสพไอซ์เมื่อโดนความร้อนจะระเหิด คือเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นไอ ดังนั้นจึงถูกนำไปเสพโดยการนำไปทำให้กลายเป็นไอแล้วสูดไอเข้าปอดเป็นส่วนใหญ่ เมทแอมเฟตามีนมีฤทธิ์กระตุ้นประสาทอย่างรุนแรง เมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะไปทำให้เกิดภาวะตื่นตัวและมีพละกำลังมากกว่าปกติ มือจะสั่น หัวใจเต้นแรง มีความดันเลือดสูง อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้น จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ผู้เสพอาจจะถึงกับสลบหมดสติ หรือเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

ในส่วนของทางการแพทย์: ใช้ต้านการซึมเศร้า

club-drug-ms-3-02

ขอบคุณข้อมูลจาก : กองควบคุมวัตถุเสพติด