Windows Loader Download
'เชอร์โนบิล' จากภัยพิบัติสู่มินิซีรีย์สะเทือนขวัญ

  Jun 7, 2019   eyeicon  720 view   Moodymuay

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์

 

มินิซีรีย์'เชอร์โนบิล' จาก HBO กลายเป็นซีรีย์ยอดนิยมแซงหน้า Game Of Thrones และ Breaking Bad ที่ได้รับคะแนนและเรตติ้งสูงมากใน IMDB ของประเทศอินเดีย โดยเนื้อหาของซีรีย์นั้นสร้างจากเรื่องจริงของภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นที่เชอร์โนบิลในปี 1986 และเหตุการณ์นี้ก็ยังคงเป็นภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดที่โลกเคยพบอีกด้วย ก่อนที่จะไปชมมินิซีรีย์สั้นๆ เพียง 5 ตอนนี้ เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับลำดับเหตุการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติในครั้งนี้กัน

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลในยูเครนเกิดระเบิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 1986 ช่วงเวลาประมาณ 1.23 น. เนื่องจากเครื่องปฏิกรณ์ 4 มีความร้อนมากขีดจำกีด

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


จากมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์ (INES) กล่าวว่าภัยพิบัตินี้เป็นเหตุการณ์ระดับ 7 ซึ่งทำให้มันเป็นหายนะที่มนุษย์สร้างขึ้นที่เลวร้ายที่สุดตลอดกาล 

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


จากแหล่งข่าวรายงานว่า การแผ่กระจายของรังสีจากการระเบิดในครั้งนี้ มีความรุนแรงมากกว่าระเบิดปรมาณูที่ถูกทิ้งในนางาซากิและฮิโรชิม่าเป็น 100 เท่า

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


ฝนนิวเคลียร์ที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติได้แพร่กระจายรังสีไปทั่วไอร์แลนด์

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


จากรายงานแสดงให้เห็นว่า เหตุการณ์อันสุดแสนร้ายแรงนี้ทำให้สหพันธรัฐรัสเซีย, สหภาพโซเวียต และยูเครน ต้องสูญเสียเงินเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


มีชายกว่า 800,000 คนที่ต้องสัมผัสกับกัมมันตภาพรังสีที่เป็นอันตรายเพื่อเข้าควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมทั้งมีคนกว่า 25,000 คนที่เสียชีวิตและอีก 70,000 คนต้องพิการตลอดชีวิต

 

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


หลังจากการระเบิด มีคนกว่า 20% ที่ลงมือปลิดชีพตัวเอง

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


เพื่อที่จะหาประโยชน์จากการตอบแทนของรัฐบาล มีบางครอบครัวย้ายกลับไปสู่พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และในปัจจุบันมีคนกว่า 5 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ปนเปื้อนไปด้วยกัมมันตภาพรังสีจากภัยพิบัตินี้

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าที่โดดเด่นที่สุดในโลก ด้วยประชากรสัตว์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งกวาง, หมาป่า, นกอินทรี, บีเว่อร์และสัตว์อื่น ๆ

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


ป่าที่อยู่ใกล้ๆ ถูกตั้งชื่อว่า 'ป่าแดง' เพราะการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีทำให้ป่ากลายเป็นสีแดงสด

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


เบลารุส ประเทศทางตอนใต้ของยุโรปได้รับการปนเปื้อนกว่า 70% จากภัยพิบัติเชอร์โนบิล

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


จากข้อมูลของกรีนพีซ ภัยพิบัติในครั้งนี้ก่อให้เกิดมะเร็งไทรอยด์ในผู้คนประมาณ 60,000 ราย

 

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


จากรายงานอ้างว่าเครื่องปฏิกรณ์เครื่องสุดท้ายในเชอร์โนบิลถูกปิดตัวลงในปี 2000 แต่อย่างไรก็ตามมีการกล่าวกันว่าวัสดุกัมมันตรังสีประมาณ 200 ตันยังคงปรากฏอยู่ภายในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


คนงานกว่า 28 คนในเชอร์โนบิลเสียชีวิตภายในช่วง 4 เดือนหลังจากเกิดภัยพิบัติ

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


เจ้าหน้าที่กล่าวว่าอาจใช้เวลาถึง 100 ปี กว่าที่สถานีจะปิดการทำงานอย่างสมบูรณ์

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


แหล่งข่าวรายงานว่าความทุกข์ทางจิตใจที่เกิดจากผลกระทบของภัยพิบัติยังคงเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุดในทุกวันนี้

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


พื้นที่รอบๆ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกใช้สำหรับกิจกรรมต่างๆ เช่นการกำจัดของเสียจากกัมมันตภาพรังสี หรือการพัฒนาการอนุรักษ์ธรรมชาติ

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


เด็กๆ ในพื้นที่ประมาณ 90% ป่วยเป็นมะเร็ง และผู้ใหญ่อีก 5% ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง มีผู้คนประมาณ 100,000 คนเสียชีวิตเนื่องจากรังสี

 

เชอร์โนบิล-มินิซีรีย์


เชอร์โนบิลในปัจจุบันกลายเป็นบ้านสำหรับสัตว์และสำหรับมนุษย์บางคนที่ทำงานในแหล่งท่องเที่ยว แต่ไม่มีใครได้รับอนุญาตให้อยู่ที่นี่นานนัก ผู้ที่ทำงานในแหล่งท่องเที่ยวจะสามารถอยู่ได้นาน 3 สัปดาห์ ในขณะที่นักท่องเที่ยวไม่ได้รับอนุญาติให้อยู่ใกล้กลับสถานีพลังงานที่ได้รับผลกระทบนานเกินกว่า 1-2 ชั่วโมง

 

Cr.scoopwhoop

 

Moodymuay

Moodymuay


Moodymuay

Moodymuay

A STORYTELLER AND CONTENT EXPLORER