Apr 27, 2016 1473 view Sukiez
กลับมาอีกครั้งกับ "คำไทย ใครทำ" ในตอนที่ ๒ ที่ยังคงต้องติด Rate 18+ เอาไว้เพื่อความเหมาะสมสำหรับผูัอ่านค่ะ แต่ทุกคำที่นำมานั้น ล้วนมีที่มาที่ไป บางคำอาจจะไม่เข้าใจว่ามันมาจากไหน ทำไมถึงมีความหมายแบบนี้ หรือบางคำอาจจะยังเข้าใจความหมายผิด ก็เป็นได้ มีเรียนรู้ภาษาของเราพร้อมๆ กันใน "คำไทยใครทำ ตอน ๒ 18+" ค่ะ โสเภณี เป็นชื่อเรียกอาชีพอาชีพหนึ่ง ผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะถูกเรียกว่า “ช็อกกะรี” หรือเรียกเพี้ยนมาจนเป็นคำว่า “กะหรี่” (อ่านเพิ่มเติม คลิ๊กที่นี่) โดยอาชีพโสเภณีคือ หญิงที่ยอมหลับนอนกับผู้ชายไม่เลือกเพื่อเงินอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้ว คำว่า“โสเภณี” ไทยเรายืม โดยตัดมาจากภาษาบาลี “นครโสภิณี” อ่านว่า “นะ-คะ-ระ-โส-พิ-นี” แปลว่า หญิงงามเมือง หรือผู้หญิงที่สวยที่สุดในเมือง สังคมอินเดียโบราณ ให้นางนครโสเภณี หรือหญิงงามเมืองเป็นหญิงชั้นสูง เป็นศรีสง่าแห่งแว่นแคว้น ต้องมีไว้ประดับเมืองเพื่อรับแขกชั้นดี อาชีพนี้เป็นอาชีพที่มีเกียรติ ผู้ที่จะประกอบอาชีพนางนครโสเภณีได้ นอกจากต้องมีรูปร่างหน้าตางดงามอย่างที่สุดแล้ว ยังต้องรู้ศิลปะวิทยาการต่างๆ นานา รู้ภาษาต่างประเทศ ไปจนถึงวิชาเคมี เพราะถือว่าได้ปรนนิบัติเศรษฐี ราชทูต หรือเจ้าชายจากต่างเมือง ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ของไทยเรา กิจการโสเภณีเฟื่องฟู จนต้องจดทะเบียนและเสียภาษี เพราะทำรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับทางการเลยค่ะ หยำฉ่า มาจากภาษาจีนกวางตุ้ง 飲茶 อ่านว่า หยำฉา แปลว่า ดื่มน้ำชา ซึ่งคำนี้มาจากการที่ชาวจีนมีวัฒนธรรมดื่มชามายาวนาน ทุกๆ ที่มีการเสิร์ฟชา พอถึงเวลานัดก็เรียกเพื่อนๆ มาดื่มชากัน พอชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขาย ก็มีการปรับร้านหยำฉ่าใหม่ให้ถูกจริตฝรั่ง โดยมีอาหมวย หน้าตาจิ้มลิ้มมาคอยเอาอก เอาใจ เช่น นั่งคุยแก้เหงา ให้ความบันเทิงต่างๆ รวมถึงบริการทางเพศ ฝรั่งเลยเข้าใจว่า “หยำฉ่า” หรือ การดื่มน้ำชาจะต้องมีหญิงบริการมาด้วยเสมอ ไทยเรารับวัฒนธรรม “หยำฉ่า” จากจีนมาจาก โรงน้ำชา เล่ากันว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน มีหญิงบริการในโรงน้ำชาที่กรุงเทพฯ แทะเม็ดก๋วยจี๊ โดยไม่เปื้อนน้ำลายแล้วพ่น เข้าปากผู้ชายได้อย่างแม่นยำ เวลานางเรียกแขกก็จะร้องว่า “หยำฉาฉอ” คนทั่วไปเลยเรียกผู้หญิงที่ไม่ดีว่า “ผู้หญิงหยำฉ่า” คำนี้มาจากภาษาเขมรที่ออกเสียงว่า “บั๊ต-เสฺร็ย-บั๊ต-เลิง” โดย “บาต่สฺรี” แปลว่า ทำให้เสียความเป็นสิริมงคล “บาต่” แปลว่า หาย สูญสิ้น “สฺรี” แปลว่า ทรัพย์ ความงาม มีโชค ส่วน “บาต่เฬิง” แปลว่าการเสื่อมจากที่สูง หรือแปลง่ายๆ ว่า ใฝ่ต่ำ ไทยเราเลยเอามาใช้ในความหมายว่า “การทำเรื่องอับอายขายหน้า น่ารังเกียจ" คำนี้มาจากภาษาจีน “查” อ่านว่า ฉา ในภาษาจีนกลาง หรือ แฉ่ ในภาษาจีนโบราณ คำนี้มีความหมายว่า ตรวจ สำรวจ ตรวจสอบ คาดว่าคนไทยรู้จักคำนี้ผ่านเจ้ามือหวย ซึ่งอาชีพนี้ก็ได้ชาวจีนนี่แหละ นำมาเผยแพร่ให้ชาวสยาม ปกติจะมีผู้ช่วยเขียนโพยหวยว่าจะมีใครแทงตัวไหน เท่าไหร่ พอจดทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยก็จะพับเก็บอย่างมิดชิดแล้วส่งเข้าโรงหวย จากนั้นทางโรงหวยก็จะคลี่โพยออกดูเพื่อจดขึ้นบัญชี การที่โพยหวยถูกเปิดออก ไม่ต่างอะไรกับความลับที่เก็บงำมานานถูกเปิดเผย! เป็นที่มาของคำว่า “แฉโพย” คนไทยเลยเหมาทุกอย่างที่เกี่ยวกับการเปิดเผยความลับ เรียกว่า “แฉ” ทั้งหมด คำนี้จึงมีความหมายว่า เปิดเผย ตีแผ่ บางครั้งถึงขั้นประจาน จะใช้กับเรื่องที่ เผ็ชๆ เด็ดๆ ค่ะ คำนี้มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว “補” อ่านว่า โป๊ว แปลว่าซ่อมแซม เพิ่มเติม เสริมสร้าง บำรุง โดยมีเรื่องราวว่า ในสมัยก่อนที่โรงหนังไทยเฟื่องฟู หนังสมัยนั้นแต่ละเรื่องมีความยาวไม่เท่ากัน เรื่องไหนมีความยาวเพียงชั่วโมงเดียวก็จะมีคนดูโวยวายว่าเสียเงินมาไม่คุ้ม เจ้าของโรงหนังชาวจีนจึงเปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสด้วยการเลือกหนังสั้นมาฉายควบ ปรากฏว่าหนังที่ได้รับเสียงตอบรับดีที่สุดคือ หนังนุ่งน้อย ห่มน้อย ด้วยความที่เป็นหนังที่ถูกเพิ่มเข้ามา จึงถูกเรียกว่า “หนังโป๊ว” พอเวลาผ่านไป จากหนังโป๊ว พูดไปพูดมา ก็เลยหลายเป็น “หนังโป๊” ในที่สุด ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจาก "คำไทย ใครทำ ตอนที่๑" ได้ที่นี่ CREDIT TO A DAY BOOK